วันศุกร์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2559

การวิเคราะห์หาปริมาณความชื้น

( Determination of Moisture Content )

วัตถุประสงค์
     1.       เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจถึงการวิเคราะห์หาปริมาณความชื้น ( Moisture Content ) และ ปริมาณของแข็งทั้งหมด (total solid) ในผลิตภัณฑ์อาหาร
     2.       เพื่อให้นักศึกษามีทักษะในการวิเคราะห์และคำนวณหาปริมาณความชื้น ( Moisture Content ) และ ปริมาณของแข็งทั้งหมด (total solid) ในผลิตภัณฑ์อาหาร

ทฤษฎี
ความชื้น ( Moisture Content ) หมายถึง ปริมาณสารที่ระเหยได้ทั้งหมด ซึ่งเรามักเข้าใจว่าคือน้ำ ส่วนจองแข็งที่เหลืออยู่เรียกว่า ของแข็งทั้งหมด (total solid) น้ำที่มีอยู่ในอาหารมีอยู่3รูปได้แก่ Bound Water, Adsorbed Water และ Free Water การให้ความร้อนแก่ผลิตภัณฑ์อาหารในการวิเคราะห์หาค่า Moisture Content น้ำที่สูญเสียไปจะเป็น Free Water ส่วน Bound Water และ Adsorbed Water จะเกาะติดกับโมเลกุลของอาหารซึ่งยากที่จะแยกออกจากอาหาร อย่างไรก็ตามปัจจุบันมีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีก็ทำให้เรามีเครื่องมือในการวิเคราะห์ค่า Moisture Content ที่มีประสิทธิภาพสูงในการดึงน้ำออกจากโมเลกุลของอาหาร ปัจจัยที่มีผลต่อการระเหยของน้ำในอาหารได้แก่ ระดับอุณหภูมิและระยะเวลาในการให้ความร้อน นอกจากนี้การเลือกสภาวะการระเหยน้ำควรคำนึงถึงการสลายตัว (Decomposition) ของผลิตภัณฑ์อาหารบางชนิดด้วย
ตัวอย่างอาหาร : ขนมอบกรอบ ตราโรลเลอร์โคสเตอร์

อุปกรณ์และเครื่องมือ
     1.       ตู้อบลมร้อน ( Hot air oven ) หรือตู้อบสุญญากาศ ( Vacuum oven )
     2.       Moisture Con
     3.       Analytical balance
     4.       Water bath
     5.       โถดูดความชื้น ( dassicator )

วิธีการ
1. อบจานหาความชื้น ( moisture can ) พร้อมด้วยฝาปิดในตู้อบลมร้อนที่อุณหภูมิ 100-105 องศา หรือในตู้อบสุญญากาศอุณหภูมิ 60 องศา ประมาณ 30 นาที ทิ้งให้เย็นในโถดูดความชื้นที่อุณหภูมิห้อง ชั่งน้ำหนักจานและฝาปิดให้ได้น้ำหนักที่แน่นอน
2. ชั่งตัวอย่างอาหารให้ทราบน้ำหนักที่แน่นอนประมาณ 5 กรัม ใส่จานหาความชื้นพร้อมฝาปิดที่ผ่านการอบแห้งและทราบน้ำหนักที่แน่นอน
3. นำไปอบในตู้อบลมร้อนที่อุณหภูมิ 100-105 องศา หรือในตู้อบสุญญากาศอุณหภูมิ 60 องศา ประมาณ    4 ชม. ปล่อยทิ้งไว้ให้เย็นในโถดูดความชื้น และชั่งหาน้ำหนักที่แน่นอน
4. ทำการอบซ้ำนานครั้งละ 30 นาที และชั่งน้ำหนักจนกว่าจะได้น้ำหนักที่คงที่
5. คำนวณปริมาณร้อยละความชื้นของตัวอย่างอาหาร (% moisture content) และปริมาณร้อยละของของแข็งทั้งหมดของตัวอย่างอาหาร (% total solid )

ตารางบันทึกผลการทดลอง

ครั่งที่
.moisture can (g)
น.น moisture can + ตัวอย่างก่อนอบ (g)
น.น moisture can + ตัวอย่างหลังอบ (g)
1
12.0111
17.0925
17.0458
2
12.3991
17.5066
17.4597
เฉลี่ย
12.2051
17.2996
17.2528


คำนวณ

น้ำหนักตัวอย่าง              = (น้ำหนัก moisture can + ตัวอย่าง) น้ำหนัก moisture can
น้ำหนักตัวอย่าง (1)         = 17.0925 - 12.0111
                                       = 5.0814
ปริมาณความชื้น = (น้ำหนัก moisture can + ตัวอย่าง) – (น้ำหนัก moisture can - ตัวอย่างหลังอบ)
ปริมาณความชื้น (1)        = 17.0925 - 17.0458
                                        = 0.0467
ตัวอย่างน้ำหนัก  5.0815 กรัม มีปริมาณความชื้น 0.0467 กรัม
ตัวอย่างน้ำหนัก  100 กรัม มีปริมาณความชื้น  (0.0467*100)/5.0815
ดังนั้น ตัวอย่างมีปริมาณความชื้น = 0.9190 %

น้ำหนักตัวอย่าง              = (น้ำหนัก moisture can + ตัวอย่าง) น้ำหนัก moisture can
น้ำหนักตัวอย่าง (2)        = 17.5066- 12.3991
                                       = 5.1075
ปริมาณความชื้น = (น้ำหนัก moisture can + ตัวอย่าง) – (น้ำหนัก moisture can - ตัวอย่างหลังอบ)
ปริมาณความชื้น (2)        = 17.5066 - 17.4597
                                        = 0.0469
ตัวอย่างน้ำหนัก  5.1075 กรัม มีปริมาณความชื้น 0.0467 กรัม
ตัวอย่างน้ำหนัก  100 กรัม มีปริมาณความชื้น  (0.0469*100)/5.1075
ดังนั้น ตัวอย่างมีปริมาณความชื้น = 0.9183 %


Ø  ปริมาณความชื้นที่ 1 และ 2          =         (0.9190% + 0.9183%)/2
                                                           =          0.9187 %
v ปริมาณของแข็งทั้งหมดในตัวอย่าง   = 100 - %ความชื้น
                                                                = 100 – 0.9187%
                                                                = 99.0813%



2 ความคิดเห็น:

  1. แล้วถ้าเป็นการหาความชื้นในของเหลวจำพวกน้ำมันละคะ

    ตอบลบ
  2. นน.ตัวอย่างหลังอบคือเอาไปอบจนกว่า นน.จะไม่ลดลงไปกว่าเดิมแล้วใช่ไหมครับ เราถึงจะเอาค่านี้มาใช้เพื่อหาความชื้นหลังอบใช่ไหมครับ

    ตอบลบ