บทนำ
Maillard
reaction : คำจำกัดความและเคมีวิทยา
ค.ศ. 1912 Louiis Maillard นักเคมีชาวฝรั่งเศส
เป็นคนแรหที่อธิบายเกี่ยวกับปรากฏการณ์การเกิดสีน้ำตาลหลังจากใหความร้อนกับสารละลายผสมของ
glucose กับ glycine ผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นจากปฏิกิริยานี้เรียกว่า
Maillard reaction product (MRP) ซึ่งมีลักษณะเป็น
sugar-amine compound ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาก็ได้มีการศึกษาเกี่ยวกับ Maillard reaction มากมาย ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2 ประเด็น
คือ Maillard reaction เกิดขึ้นนระหว่างการผลิตอาหารซึ่งจะมีผลต่อคุณภาพทางโภชนาการ
ซึ่งทำให้สูญเสียสารอาหารบางชนิดไปและอาจทำให้เกิดกลิ่นหรือรสชาติเปลี่ยนไป
สิ่งที่สำคัญมากในประเด็นนี้คือการที่เกิด glucose-amine compound ทำให้สูญเสีย sugar และ amino acid อาจมีผลต่อการดูดซึม และ metabolism สารอาหารบางชนิด
ประเด็นที่สอง Maillard reaction เกี่ยวข้องกับ tissue-aging
process พบว่ามีความสัมพันธ์ระหว่างเวลาและโปรตีน เซลล์
และเนื้อเยื่อ เช่น ผู้ป่วยเบาหวาน จะมี fructose สูงในเนื้อเยื่อ
เช่น lens ทำให้เกิด cataract ได้
ปฏิกิริยาเมลลาร์ด
(Maillard
reaction) เป็นปฏิกิริยาการเกิดสีน้ำตาล (browning reaction)
ชนิดที่ไม่เกี่ยวข้องกับเอนไซม์ (non enzymatic
browning reaction) เกิดขึ้นระหว่างน้ำตาลรีดิวส์ (reducing
sugar) กับกรดแอมิโน โปรตีน หรือสารประกอบไนโตรเจนอื่นๆ โดยมีความร้อนเร่งปฏิกิริยา ผลิตผลที่ได้จากปฏิกิริยาเมลลาร์ด
เป็นสารประกอบหลายชนิด ที่ให้สีน้ำตาลและกลิ่นรสต่างๆ ทั้งที่พึงประสงค์
และไม่พึงประสงค์ เช่น สีน้ำตาลที่เกิดขึ้นระหว่างการอบ การทอดเ ช่น เนื้อสัตว์ เบเกอรี่ (bakery) ปฏิกิริยานี้ยังมีความสำคัญต่อการเกิดสีและกลิ่นหอมที่ได้จาก
การคั่วเมล็ดกาแฟ โกโก้ การทำคาราเมล
ทอฟฟี่ ช็อคโกแลต น้ำปลา ซีอิ๊ว (fermented soy sauce) เป็นต้น
ขั้นตอนการเกิดปฏิกิริยาเมลลาร์ด
1. น้ำตาลรีดิวซิง (reducing sugar) ทั้งน้ำตาลคีโทส (ketose)
เช่น ฟรักโทส (fructose) และแอลโดส
(aldose) เช่น
กลูโคส (glucose) จะรวมตัวกับหมู่แอมิโน (RNH2)
ของ กรดแอมิโน ได้เป็นไกลโคซิลเอมีน
2. เกิดปฏิกิริยาดีไฮเดรชันได้เป็นอิมีน
(imines หรือ Schiff 's base) และมีการเรียงตัวใหม่ซึ่งมีชื่อเรียกว่า
Amadori rearrangement ได้เป็นแอลโดสเอมีน (aldoseamine) หรือ คีโทสเอมีน (ketoseamine)
เรียกว่า Amadori compound เช่น 1-อะมิโน-1-ดีออกซี-คีโทส ซึ่งจะเกิดปฏิกิริยาต่อเนื่องได้
เมื่อมีค่าพีเอช 5 หรือต่ำกว่า
3. เกิดปฏิกิริยา enolization
ของ Amadori compounds ได้เป็นไดคีโทสเอมีนหรือไดแอมิโนชูการ์
เช่น 3- ดีออกซีเฮกโซซูโลส
4. เกิดปฏิกิริยาดีไฮเดรชันต่อได้เป็นอนุพันธ์ของฟูแรน
(furan) ถ้าเป็นน้ำตาลเฮกโซส อนุพันธ์ฟูแรน คือ 5-ไฮดรอกซีเมทิล-2-เฟอรัลดีไฮด์ (5-hydroxymethyl-2-furaldehyde หรือ HMF)
5. อนุพันธ์ฟูแรนวงแหวน เช่น HMF
จะเกิดพอลิเมอไรซ์อย่างรวดเร็วได้เป็นสารสีน้ำตาลที่มีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบอยู่ด้วยและไม่ละลายในน้ำ
ซึ่งต่างจากการเกิดคาราเมไลเซชัน (caramelization) ซึ่งมีสีน้ำตาลเพียงอย่างเดียว สารสีน้ำตาลที่เกิดขึ้นนี้จึงเรียกว่า เมลานอยดิน
(melanoidins) ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นเป็นปฏิกิริยาโมลต่อโมล (mole
per mole reaction)
วัตถุประสงค์
เพื่อประเมินผลด้านสีและกลิ่นของกรดอะมิโนและสารละลายกลูโคสหลังให้ความร้อน
อุปกรณ์และสารเคมี
1.
Glucose 7. Arginine
2.
Lysine 8. Cystine
3.
Phenylalanine 9. tyrosine
4.
Methionine 10. หลอดทดลอง
5.
Leucine 11. Water bath
6.
Proline
วิธีการทดลอง
1.
ใส่ glucose ลงในหลอดทดลองแปดหลอด หลอดละ
200 mg
2.
ใส่ amino acid ทั้งแปดชนิดในหลอดทดลอง
หลอดละชนิด 200 mg
3.
ใส่น้ำกลั่น 2 ml ลงในหลอดแล้วเขย่าให้เข้ากัน
4.
ปิดฝาหลอดทดลองนำไปใส่ใน water bath ที่อุณหภูมิ 100 องศา เป็นเวลา 45 นาที
5.
ทำให้เย็นลง
6.
สังเกตสีและดมกลิ่น
ตารางบันทึกผลการทดลอง
Test tube No.
|
Sample
|
Oder
|
Color
|
1
|
Glucose + Lysine
|
กลิ่นหอมอ่อนๆ
|
เหลืองอ่อน
|
2
|
Glucose + Phenylalanine
|
กลิ่นกุหลาบ
|
ใสมีตะกอน
|
3
|
Glucose + Methionine
|
กลิ่นเหม็นหืน
|
เป็นวุ้นใส
|
4
|
Glucose + Leucine
|
กลิ่นอับชื้น
|
เป็นวุ้นใส
|
5
|
Glucose + Proline
|
กลิ่นใบเตย
|
|
6
|
Glucose + Arginine
|
กลิ่นถุงเท้า
|
น้ำตาลดำ
|
7
|
Glucose + Cystine
|
กลิ่นเหม็นเขียว
|
ใสมีตะกอน
|
8
|
Glucose + tyrosine
|
กลิ่นกรดอ่อนๆ
|
ขาวขุ่น
|
อ้างอิง : http://www.med.cmu.ac.th/dept/nutrition/DATA/common/mailard%20reaction%20-%20PN.pdf
http://www.foodnetworksolution.com/wiki/word/0397/maillard-reaction-%E0%B8%9B%E0%B8%8F%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%A5%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%94
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น