วันศุกร์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2559

ปฏิกิริยาการเกิดสีของโปรตีน

บทนำ
       การทดสอบคุณสมบัติของโปรตีน สามารถทำได้โดยดูปฏิกิริยาการเกิดสีของโปรตีนกับรีเอเจนต์ชนิดต่างๆ ซึ่งโปรตีนแต่ละชนิดอาจให้สีหรือไม่ให้สีกับรีเอเจนต์ที่ใช้ทดสอบ ทั้งนี้ขึ้นกับหมู่เฉพาะที่อยู่ในโปรตีนชนิดนั้นๆ ปฏิกิริยาการให้สีของโปรตีนมีอยู่หลายปฏิกิริยาที่สำคัญด้วยกันคือ
   1.       ปฏิกิริยาไบยูเรต  อาศัยหลักว่าสารที่ประกอบด้วยพันธะเปปไทด์ตั้งแต่สองแห่งขึ้นไป เมื่อทำปฏิกิริยากับไบยูเรตรีเอเจนต์ (สารละลายทองแดงซัลเฟตในด่าง) จะให้สีม่วงจนถึงสีชมพูขึ้นกับขนาดของโมเลกุลของโปรตีน ทั้งนี้เปปไทด์ที่มีโมเลกุลเล็กๆและกรดอะมิโนจะไม่ให้สี
   2.       ปฏิกิริยานินไฮดริน  เป็นปฏิกิริยาการทดสอบโปรตีน และกรดอะมิโนที่มีอย่างน้อย 1 free amine group และ 1 free COOH ในสารละลายที่เป็นกลาง จะได้สีชมพูม่วง และสีน้ำเงินขึ้นกับชนิดของโปรตีน ยกเว้นกรดอะมิโน proline และ hydroxyproline ซึ่งจะให้สีเหลือง
   3.       ปฏิกิริยามิลลอน  อาศัยหลักว่าโปรตีนที่มี phenolic group อยู่ในโมเลกุล เช่น กรดอะมิโนไทโรซีน เมื่อทำปฏิกิริยากับมิลลอนรีเอเจนต์ (ปรอทในกรดไนตริก) ที่อุณหภูมิสูง จะได้ตะกอนสีขาวในตอนแรกแล้วเปลี่ยนเป็นสีแดงส้ม
   4.       ปฏิกิริยาแซนโธโพรเธอิค  อาศัยหลักการว่าโปรตีนที่มีกรดอะมิโนฟีนิลอะลานีน ไทโรซีน หรือ
ทริปโตเฟนอยู่ในโมเลกุล เมื่อทำปฏิกิริยากับกรดดินประสิวเข้มข้นจะเกิดสีเหลือง และถ้าทำปฏิกิริยากับด่างสีจะเข้มขึ้นจนกลายเป็นสีส้ม

จุดประสงค์
       เพื่อศึกษาปฏิกิริยาการเกิดสีของโปรตีนในแบบต่างๆ

ตัวอย่างที่ใช้ทดสอบ
     1.       สารละลายไข่ขาวเจือจาง
     2.       สารละลายเปปโตน 1%
     3.       สารละลายไกลซีน 1%
     4.       สารละลายไทโรซีน 1%
     5.       เจลาติน
     6.       นม
     7.       น้ำตาล
     8.       ขนมปัง
     9.       แป้ง

อุปกรณ์และเครื่องมือ
       1. หลอดทดลอง                 5. pH-paper
       2. ปิเปต 5 ml                      6. Stirring rod
       3. Test tube rack                7. Watch glass
       4. Water bath                     8. บีกเกอร์ 500 ml

สารเคมี
1.       33% NaOH
2.       1% CuSO4
3.       สารละลายนินไฮดริน : เตรียมโดยละลายนินไฮดริน 0.2 กรัม ในเอธิลแอลกอฮอล์ 100 ml
4.       มิลลอนรีเอเจนต์ : เตรียมโดยละลายเมอร์คิวริกซัลเฟต 15 กรัมในกรดกำมะถัน 3 M 100 ml
5.       กรดไนตริกเข้มข้น

วิธีการทดลอง
1.       ปฏิกิริยาไบยูเรต
       ใส่สารที่ต้องการทดสอบ 3 ml ลงในหลอดทอง (สำหรับตัวอย่างที่เป็นของแข็งให้ใส่ตัวอย่างในหลอดทดลอง แล้วเติมน้ำกลั่นลงไป 5 ml) เติม 33% NaOH 3ml จากนั้นค่อยๆหยดสารละลาย 1% CuSO4 ลงไปจนเกิดสี 
2.       ปฏิกิริยานินไฮดริน
       ใส่สารที่ต้องการทดสอบ 3 ml ลงในหลอดทอง (สำหรับตัวอย่างที่เป็นของแข็งให้ใส่ตัวอย่างในหลอดทดลอง แล้วเติมน้ำกลั่นลงไป 5 ml) เตรียมสารละลายนินไฮดรินที่เตรียมใหม่ๆลงไป 1 ml เขย่าให้เข้ากัน ต้มในอ่างน้ำเดือดประมาณ 1 นาที ปล่อยให้เย็น สังเกตการณ์เปลี่ยนแปลง
3.       ปฏิกิริยามิลลอน
       ใส่สารที่ต้องการทดสอบ 3 ml ลงในหลอดทอง (สำหรับตัวอย่างที่เป็นของแข็งให้ใส่ตัวอย่างในหลอดทดลอง แล้วเติมน้ำกลั่นลงไป 5 ml) เติมมิลลอนรีเอเจนต์ 5 หยด นำไปอุ่นในอ่างน้ำร้อน สังเกตการเปลี่ยนแปลง
4.       ปฏิกิริยาแซนโธโพรเธอิค
       ใส่สารที่ต้องการทดสอบ 3 ml ลงในหลอดทอง (สำหรับตัวอย่างที่เป็นของแข็งให้ใส่ตัวอย่างในหลอดทดลอง แล้วเติมน้ำกลั่นลงไป 5 ml) เติมกรดไนตริกเข้มข้นลงไป3 ml นำไปอุ่นในอ่างน้ำเดือด 2-3 นาที แล้วทิ้งให้สารละลายเย็นลงอย่างช้าๆ จากนั้นเติม 33% NaOH ลงไปจนสารละลายเป็นกลาง สังเกตการเปลี่ยนแปลง

ตารางบันทึกผลการทดลอง

สารตัวอย่าง
ปฏิกิริยาที่ใช้ทดสอบ
ไบยูเรต
นินไฮดริน
มิลลอน
แซนโธโพรเธอิค
สารละลายไข่ขาวเจือจาง
ม่วงชมพู
น้ำเงิน
ตะกอนขาวขุ่น
เหลืองอ่อน
สารละลายเปปโตน 1%
ม่วง
ม่วงน้ำเงิน
เหลืองอ่อน
เหลืองขุ่น
สารละลายไกลซีน 1%
ม่วงน้ำเงิน
น้ำเงินเข้ม
ใสไม่มีสี
ใสไม่มีสี
สารละลายไทโรซีน 1%
ม่วง
ม่วง
ตะกอนขาวขุ่น
เหลืองอมส้ม
เจลาติน
ม่วงชมพู
ม่วงอ่อน
เหลืองส้ม
เหลืองอ่อน
นม
ม่วง
ม่วงอ่อน
ตะกอนขาวขุ่น
สีส้ม
น้ำตาล
ฟ้าอ่อน
ใสไม่มีสี
ใสไม่มีสี
ใสไม่มีสี
ขนมปัง
ม่วง
ม่วงอ่อนมาก
เหลืองส้มขุ่น
เหลืองมีตะกอนสีส้ม
แป้ง
ม่วง
ขุ่นมีตะกอน
ขาวขุ่นมีตะกอน
เหลืองมีตะกอนสีส้ม


สรุปวิจารณ์ผลการทดลอง
Ø สารละลายไข่ขาวเจือจาง ให้ผล negative  กับปฎิกิริยา มิลลอน นั่นคือ สารละลายไข่ขาวเจือจาง                 ไม่มีกรดอะมิโนไทโรซีน อยู่ในโมเลกุล
Ø สารละลายเปปโตน 1%  ให้ผล positive กับทุกปฎิกิริยา นั่นคือ สารละลายเปปโตน 1% เป็นโปรตีน ที่มีหมู่อะมิโนอิสระ และมีกรดอะมิโนฟีนิลอะลานีน ไทโรซีน หรือทริปโตเฟนอยู่ในโมเลกุล
Ø สารละลายไกลซีน 1%  ให้ผล negative กับปฎิกิริยามิลลอน และ ปฏิกิริยาแซนโธโพรเธอิค นั่นคือสารละลายไกลซีน 1%   ไม่มีกรดอะมิโนฟีนิลอะลานีน ไทโรซีน หรือทริปโตเฟนอยู่ในโมเลกุล
Ø สารละลายไทโรซีน 1% ให้ผล negative  กับปฎิกิริยา มิลลอน นั่นคือ สารละลายไทโรซีน 1% ไม่มี     กรดอะมิโนไทโรซีน อยู่ในโมเลกุล
Ø เจลาติน ให้ผล positive กับทุกปฎิกิริยา นั่นคือ เจลาติน เป็นโปรตีน ที่มีหมู่อะมิโนอิสระ และมีกรดอะมิโนฟีนิลอะลานีน ไทโรซีน หรือทริปโตเฟนอยู่ในโมเลกุล
Ø นม ให้ผล negative  กับปฎิกิริยา มิลลอน นั่นคือ นมไม่มี กรดอะมิโนไทโรซีน อยู่ในโมเลกุล
Ø น้ำตาล ให้ผล negative กับทุกปฎิกิริยา เนื่องจากน้ำตาลไม่มีพันธะเปปไทด์ เพราะน้ำตาลเป็นคาร์โบไฮเดรต
Ø ขนมปัง ให้ผล positive กับทุกปฎิกิริยา นั่นคือ ขนมปังมีโปรตีนที่มีหมู่อะมิโนอิสระ และมี   กรดอะมิโนฟีนิลอะลานีน ไทโรซีน หรือทริปโตเฟนอยู่ในโมเลกุล

Ø แป้ง ให้ผล negative กับปฎิกิริยามิลลอน และ ปฏิกิริยานินไฮดริน นั่นคือ แป้งไม่มีกรดอะมิโน    ไทโรซีนและโปรตีนที่มีหมู่อะมิโนอิสระ อยู่ในโมเลกุล


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น